วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ 8

การสร้างสื่อ 3 มิติ
.....สื่อวัสดุ 3 มิติวัสดุ 3 มิติ หมายถึง สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริง

ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
....1.หุ่นจำลอง ควรมีเทคนิคในการเลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของเน
...2.ของจริง ควรมีลักษณะตรงกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา และธรรมชาติของผู้เรียน
...3.ป้ายนิเทศ ชื่อเรื่องต้องมีลักษณะเป็นข้อความสั้นๆ ข้อความเนื้อหา คำเชิญชวน คำแนะนำน่าสนใจ
...4.ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน



วิธีง่ายๆ ช่วยการกระตุ้นความจำ

..... ดูเหมือนว่าข้อมูลใหม่จะไหลมาเทมาให้เราต้องทำความรู้จักกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน จนหลายคนกำลังประสบปัญหาว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชื่อเสียงเรียงนาม วันที่ หรือวิธีทำงาน เหล่านั้น จะจดจำลงในสมองได้หมดได้อย่างไร
..... "สมอง" ที่อาจจะไม่ค่อยมีที่ว่างพอ-เพียงให้อัดข้อมูลใหม่ลงไปได้สักเท่าไรนัก
.....โชคร้ายตรงที่เราไม่มี "เอ็กซ์เทอร์-นัลฮาร์ดไดรฟ์" หรือหน่วยจัดเก็บข้อมูลภายนอกอย่างที่คอมพิวเตอร์มี อย่างไร ก็ตาม จากการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าคนเราสามารถจะกระตุ้นหรือปรับปรุงความทรงจำให้ดีขึ้นได้
.....วิธีช่วยจำ อย่างหนึ่งก็คือ ถ้าหากไม่อยากจะลืมสิ่งที่เรียนรู้ไปในวันนี้ ก็จงเข้านอนเสีย การได้นอนสักพัก ถ้าจะให้ดีอาจจะในราว 90 นาที จะเป็นการช่วยบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างวันขึ้นได้ ทีนี้เมื่อได้เข้านอนตอนกลางคืน สมองก็จะสร้างความทรงจำของเหตุการณ์ในวันนั้นขึ้น
..... แต่การใช้สมองอย่างหนักกับความทรงจำระยะยาว อาจทำให้ต้องผจญกับความทรงจำที่มีต่อเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้
.....จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดหลายชิ้น พบว่าความทรงจำของแต่ละคนนั้น สามารถจะปรับปรุงหรือกระตุ้นให้ดีขึ้นได้ โดยอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ได้แก่ การฟังดนตรี การปรับปรุงนิสัย และการคิดมองโลกอย่างเด็กๆ ก็มีส่วนช่วยได้ไม่น้อย
.....ดูแล้วก็ไม่หมดหวังเสียทีเดียวที่เราจะมากระตุ้นความทรงจำให้ปิ๊งปั๊ง มีพลังขึ้นมาใหม่ ได้อีกหน
................................................ที่มา...www.kapook.com.

คลังบทความของบล็อก